วันศุกร์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

พระเครื่องลำพูน


พระเครื่องลำพูนที่น่าสนใจ
1.พระคง ลำพูน
           พระลำพูน พระเครื่องล้านนา ที่ได้รับความนิยมแพร่หลายมาก โดยเฉพาะพระรอด พระคง พระบาง พระเปิม พระลือ พระเลียง หรือพระขนาดใหญ่ เช่น พระสาม พระสิบสอง พระสิบแปด พระกล้วย พระกวาง พระกาบปลี ฯลฯ
 สมัยก่อน ประมาณ พ.ศ.2500 พระรอด และ พระลำพูนพิมพ์อื่นๆ มีความเชื่อจากตำนานว่า พระนางจามเทวี สร้างประมาณ พ.ศ.1223 อายุความเก่าประมาณ 1,300 ปี

พระคง ลำพูน หนึ่งใน พระลำพูน แต่ในทุกวันนี้ มีทฤษฎีใหม่ๆ จากนักวิชาการหลายท่าน ได้กำหนด พระเครื่องล้านนา อายุสมัยการสร้าง ของ พระสกุลลำพูน จากลักษณะของศิลปะ และฝีมืองานช่าง ซึ่งได้รับการยอมรับกันอย่างกว้างขวาง

 อาทิจากข้อเขียนเรื่อง พระเครื่องล้านนา พระลำพูน พระพิมพ์สกุลช่างหริภุญชัย ฉบับพิมพ์ พ.ศ.2538 โดย ณัฏฐภัทร จันทวิช ผู้เชี่ยวชาญด้านโบราณคดีของกรมศิลปากร ทำให้นักสะสมพระเครื่องคนรุ่นใหม่ เข้าใจอายุสมัย การสร้างของ พระลำพูน แต่ละพิมพ์ว่า ไม่ได้สร้างพร้อมกัน
พระลำพูน เช่น พระคง พระบาง พระเปิม พระเครื่องล้านนา เป็นพระพิมพ์ที่แสดงลักษณะศิลปะอินเดีย แบบคุปตะและปาละ น่าจะมีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 13-14 ส่วน พระรอด พระเลี่ยง พระลือ แสดงลักษณะศิลปะพุกาม ที่ได้รับอิทธิพลมาจากอินเดีย ผ่านเข้ามายังหริภุญชัย น่าจะมีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 15-16
 ด้วยเหตุนี้ จึงทำให้ความนิยมในพระลำพูน พระคง พระบาง พระเปิม ได้รับความนิยมมากขึ้น และมีราคาสูงขึ้นด้วย เพราะมีอายุความเก่ามากกว่าพระรอด พระเลี่ยง พระลือ

 โครงการอนุรักษ์เผยแพร่พุทธศิลป์ล้านนาและพระลำพูน สำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จึงได้จัดหลักสูตรฝึกอบรม พระคง พระบาง พระเปิม พระเลี่ยง และ พระขนาดใหญ่ ขึ้นในวันเสาร์ที่ 2 และวันอาทิตย์ที่ 3 พฤษภาคม 2552 เพื่อบริการวิชาการแก่ชุมชน และเปิดโอกาสให้ผู้สนใจได้เรียนรู้พระลำพูน ทั้งภาคทฤษฎี และภาคปฏิบัติ อย่างถูกต้อง
 โดยในวันเสาร์ที่ 2พฤษภาคม เป็นการบรรยายประวัติศาสตร์และศิลปะหริภุญชัย โดย ศ.สุรพล ดำริห์กุล กรรมวิธีการสร้างพระพิมพ์ พร้อมการสาธิตการสร้างจริง โดย สุทธพงษ์ ใหม่วัน  หลักเกณฑ์การพิจารณาพระพิมพ์ การพิจารณาพิมพ์ทรง เนื้อหามวลสาร ธรรมชาติความเก่า และเทคนิคการสร้างพระลำพูน โดย อ.นิพนธ์  สุขสมมโนกุล (น้อย ไอยรา) บทความพระเครื่อง

2.พระลำพูนดำ (พระคงดำ)

        
        สุดยอดปรารถนา และ ใฝ่ฝันอยากได้ครอบครอง ตั้งแต่เริ่มหัดสะสมพระเครื่องของผม นั่นคือ พระลำพูนดำ หรือ พระคง เนื้อดำ ซึ่งเป็นพระเครื่องสกุลลำพูน ที่มีการกล่าวขานมานานนม ด้วยเรื่องของ ความคงกระพันชาตรี อีกทั้ง ในสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว พระปิยมหาราช ท่านยังได้อัญเชิญ พระลำพูนดำ ปะดับบนธงชัยเฉลิมพล อีกด้วยครับ.

พระลำพูนดำ องค์นี้ เพิ่งมาโปรด สดๆ ร้อนๆ ในช่วงที่ผมมีความพร้อม และ กำลัง ฟิต พอดี ถ้าเป็นช่วงก่อน กำลังน้อย ก็คงได้แต่นั่งมอง แล้วกลืนน้ำลายไป แต่ช่วงนี้ ท่านมาโปรดแล้ว ต้องสนอง ความอยากได้ เป็นการให้รางวัล กับ ชีวติ

3.พระบาง ลำพูน

          ส่วนในภาคปฏิบัติ เป็นการพิจารณาพระพิมพ์จากพระองค์จริง พระลำพูนทุกสภาพนับร้อยองค์ คือ พระคง พระคงทรงพระบาง พระขนาดใหญ่ พระสาม พระสิบสอง พระสิบแปด พระกล้วย พระกวาง พระกาบปลี พระกลีบบัว ฯลฯ
 พระบาง กรุวัดดอนแก้ว กรุครูขาว กรุวัดพระคง พระเปิม กรุวัดดอนแก้ว กรุวัดพระธาตุหริภุญชัย กรุวัดจามเทวี พระเลี่ยง กรุวัดประตูลี้ กรุวัดดอนแก้ว กรุวัดมหาวัน

พระบาง ลำพูน ดำเนินรายการโดย รศ.ชูโชค อายุพงศ์ ชี้แนะเจาะลึกโดย ศ.สุรพล ดำริห์กุล, สุทธพงษ์ ใหม่วัน, ทวี โอจรัสพร, อ.นิพนธ์ สุขสมมโนกุล และวิทยากรผู้ช่วย ซึ่งจะทำให้ผู้สนใจดูพระเป็นเร็วกว่าเรียนเอง แค่ดู พระลำพูนที่นำมาประกอบการอบรมก็คุ้มแล้ว ติดต่อสอบถอมได้ที่โทร.๐-๕๓๙๔-๒๘๗๔-๕, หรือที่ pralanna.com







4.พระเปิม ลำพูน
พระเปิมลำพูน ยอดพระเมืองลำพูน พระเปิมเป็นพระเครื่องประจำเมืองลำพูนพิมพ์หนึ่ง สถานที่พบวัดพระธาตุ วัดประตูลี้ วัดดอกแก้ว วัดพระคง วัดมหาวัน พระเปิมลำพูน มีศิลปสกุลช่างทวาราวดีผสมผสานสกุลช่างหริภุญชัย


พระเปิมลำพูน พระเมืองลำพูนสวยแชมป์

พระเปิมลำพูน พระเมืองลำพูนสวยแชมป์ของคุณประเมธ เพราะพินิจ
("ตะวันบูรพา"Daily News Online)
"พระเปิมลำพูน" ซึ่งเป็นพระที่สร้างขึ้นพร้อมกับ ยอดพระเมืองลำพูน คือ “พระรอดและพระคง” เพียงแต่แยกบรรจุไว้ คนละกรุ โดย พระเปิมลำพูน องค์ที่ท่านชมอยู่นี้ต้องบอกว่าเป็นองค์ “แชมป์เรียกพี่” เพราะนอกจากเป็น พระเนื้อสองสี คือ เขียวกับแดง แล้วสภาพก็มีครบทั้ง หู ตา จมูก ปาก เข้าตำราที่เรียกว่า “หูตากะพริบ” ทุกกรณีสมบัติของ ประเมธ เพราะพินิจ ("ตะวันบูรพา"Daily News Online)

พระเปิมลำพูน ยอดพระเมืองลำพูนพระเปิม เป็นพระเครื่องยอดนิยม พระเครื่องล้านนาที่สร้างขึ้นด้วยเรื้อดินเผา มีศิลปสกุลช่างทวาราวดีผสมผสานสกุลช่างหริภุญชัย หรือช่างชาวมอญโบราณ ลัทธิมหายาน "พระเปิมลำพูน"มีพุทธลักษณะเป็นองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงประทับนั่งใต้ต้นร่มโพธิ์พฤกษ์ หรือร่มจิก เป็นจินตนาการของช่างสมัยโบราณ ได้บรรจงสร้างศิลป์ตามยุคและตามสมัยนั้นได้อย่างงดงาม เอกลักษณ์ของพระศิลปสมัยทวาราวดี ตามพุทธลักษณะของสกุลช่าง จนเราสามารถแยกออกจากกันได้ (อ่านศิลปอวกะ) "พระเปิมลำพูน"พระเครื่องเมืองลำพูนยอดนิยมพิมพ์หนึ่ง สถานที่พบส่วนใหญ่พบที่ วัดพระธาตุ วัดประตูลี้ วัดดอกแก้ว วัดพระคง วัดมหาวัน มีผู้รู้กล่าวว่า พระเปิมมีลักษณะที่น่าสังเกตที่ควรจำ คือ ลำตัวองค์พระจะอวบอ้วน พระโอษฐ์(ปาก) แบะริมฝีปากหนา พระเนตร(ตา)โปน พระนาสิกบาน ศีรษะทุย พระเกศมาลาจิ่ม พระกรรณ(ใบหู)หนา พระศอ(คอ)จะเห็นกรองศอหรือกรองคอเป็นเส้นนูนขึ้นอย่างชัดเจน เต้าพระถัน(เต้านม) จะเห็นชัดเจน พระนาภี(สะดือ)บุ๋มลึกลงไม่ใช่สะดือจุ่นหรือนูนขึ้น ส่วนต่างๆ ของร่างกาย(พระอังคาพยพ) จะไม่สมส่วนสัด เช่น พระหัตถ์จะใหญ่โต พระบาทก็เช่นเดียวกัน เป็นลักษณะหนึ่งของสมัยทวาราวดี ซึ่งมีสัดส่วนแตกต่างกับพระสมัยอื่นหรือสกุลช่างอื่น ที่เราสามารถรู้ได้ว่าเป็นศิลปสมัยทวาราวดี ศรีวิชัย ลพบุรีเชียงแสน สุโขทัย อยุธยา รัตนโกสินทร์ เป็นต้น
     พระเปิมลำพูน พระพิมพ์ที่แสดงลักษณะศิลปะอินเดีย แบบคุปตะและปาละ น่าจะมีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 13-14 พระเปิมลำพูน เป็นพระดินเผาที่มีเนื้อละเอียดหนึกนุ่ม แห้งแกร่ง แข็ง ถ้าสึกกร่อนจะมีแร่ดอกมะขามเป็นจุดๆ ถ้าสมบูรณ์เช่นที่เห็นนี้ จะมองไม่เห็นแร่ บางองค์มีคราบกระคล้ายกับผิวหนังของช้างตกกระ พระเปิมมีสีหลายสี เช่น สีเขียวมอย สีแดง สีพิกุลแห้ง สีอิฐ สีหม้อใหม่ประทับนั่งใต้ร่มโพธิ์พฤกษ์ อยู่เบื้องพระปฤษฎางค์ (เบื้องหลัง)ในท่าปางสะดุ้งมาร มีฐานลอยยื่นรองรับเป็นรัตนบัลลังก์ เป็นจุดไข่ปลาเหมือนเกษรบัว นั่งขัดสมาธิเพชร มีใบโพธิ์หรือใบจิก 84 ใบ ฐานผ้าทิพย์จะมีลักษณะของสตางค์ จะมีเส้นรัศมีอยู่ 7 เส้น (จุดที่สำคัญที่สุดในองค์พระ) ถ้ามีเกินกว่าหรือน้อยกว่าจะเป็น พระเปิมลำพูน ของเก๊ค่อนข้างแน่นอน




ที่มา : 1.http://www.tumsrivichai.com/%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A5%E0%B8%B3%E0%B8%9E%E0%B8%B9%E0%B8%99-%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%99%E0%B8%B2-%E0%B8%9E%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%A8%E0%B8%B4%E0%B8%A5%E0%B8%9B%E0%B9%8C%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%99%E0%B8%B2.html


2.http://www.tumsrivichai.com/%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%A5%E0%B8%B3%E0%B8%9E%E0%B8%B9%E0%B8%99-%E0%B8%A2%E0%B8%AD%E0%B8%94%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%A5%E0%B8%B3%E0%B8%9E%E0%B8%B9%E0%B8%99.html


3.http://www.google.co.th/imgres?q=%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%84%E0%B8%87%E0%B8%94%E0%B8%B3&um=1&hl=th&biw=1280&bih=709&tbm=isch&tbnid=Lpp4QhX5JnFkUM:&imgrefurl=http://www.thaprachan.com/shop_detail.php%3Fshop_id%3D874%26product_id%3D119509%26c%3D1&docid=T-pO5AhRSz5DYM&imgurl=http://www.thaprachan.com/upload/shop_product/b-01-05-10-19-07-48.jpg&w=624&h=482&ei=WkxHT5yTJ8TorQfe7bWwDw&zoom=1&iact=hc&vpx=477&vpy=155&dur=832&hovh=197&hovw=256&tx=137&ty=90&sig=110922715763600114134&page=1&tbnh=149&tbnw=198&start=0&ndsp=21&ved=1t:429,r:2,s:0